Tuesday, March 16, 2010

Negotiation in critical situations

Negotiation in critical situations



การเจรจาต่อรองในสถานการณ์วิกฤติ (Negotiation in critical situations) เช่น การเจรจากับคนร้ายซึ่งมีตัวประกัน คนที่กำลังคิดจะฆ่าตัวตาย ภัยคุกคามซึ่งหน้าอันอาจก่ออันตรายต่อเราหรือบุคคลอื่น หรือในกรณีที่เราตกเป็นตัวประกัน การพูดจากับคนร้ายหรือภัยคุกคามนั้นอาจก่อได้ทั้งคุณและโทษ การเจรจาอย่างเหมาะสมอาจทำให้เรารอดพ้นจากภัยคุกคามได้


โดยทั่วไปเราไม่แนะนำให้ประชาชนธรรมดามาทำหน้าที่เจรจาต่อรองกับคนร้ายและเราไม่ควรเสนอตัวเองเพื่อทำหน้าที่นี้ด้วย เนื่องจากการเจรจาต่อรองนั้นมีความซับซ้อน ความเครียด และต้องใช้ความรู้มาก เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งจะทำหน้าที่เจรจาต่อรองนั้นต้องผ่านการฝึกมาโดยเฉพาะ ได้รับการคัดเลือกมาเป็นพิเศษ รู้ขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างดี และทำงานเป็นทีม (Hostage Negotiation Team, HNT)


แต่ในกรณีจำเป็นเราอาจต้องใช้ทักษะด้านนี้ในการช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา หรือหากต้องเจรจากับคนร้ายก็ขอให้ใช้หลักการที่จะกล่าวถึงต่อไป ดีกว่าไม่รู้หลักอะไรเลยซึ่งอาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง


การเจรจาต่อรองในที่นี้จะยึดหลักของการเจรจากับคนร้ายที่มีตัวประกัน แต่ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์อื่นๆได้ด้วย


จุดมุ่งหมายการเจรจาต่อรอง


1. สามารถทำให้เหตุการณ์ยุติลงได้


2. ถ่วงเวลาคนร้าย


3. หาข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับคนร้ายเพื่อใช้ในการวางแผน


สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการเจรจาต่อรอง


1. ตั้ง “สติ” ให้ดี


2. อย่าพยายามเจรจากับคนร้ายโดยไม่จำเป็น เพราะอาจยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งได้รับการฝึกฝนมาด้านนี้โดยเฉพาะจะเหมาะสมกว่า


3. ผู้เจรจาต้องพยายามวินิจฉัยเบื้องต้นถึงลักษณะของคนร้ายที่จับตัวประกัน : มีความบกพร่องทางจิต วิกลจริต หรือมีวัตถุประสงค์ใด


4. อย่าโต้เถียง โต้แย้ง พูดขัดคอหรือท้าทาย


5. อย่ายั่วยุให้โกรธ


6. อย่าโกหกหรือใช้อุบายหลอกลวงโดยไม่จำเป็น


7. พูดด้วยเหตุผล


8. อย่าสอบถามว่าคนร้ายต้องการหรือเรียกร้องอะไร แต่ให้พยายามฟังคนร้ายพูด แล้วจับประเด็นว่าคนร้ายต้องการหรือเรียกร้องอะไร


9. ในกรณีที่คนร้ายต้องการเจรจาด้วย ให้พยายามพูดในเชิงให้คนร้ายมีอาการสงบ


10. พูดด้วยความเห็นใจ


11. ให้คนร้ายพูดระบายความรู้สึกให้มาก


12. อย่าให้คนร้ายเสียหน้า


13. รักษาการสบตาไว้เสมอ (เดินเข้าไปหา – ถอยออกมา)


14. อย่าหันหลังให้คนร้ายเป็นอันขาด


15. ถ้าคนร้ายจะหลบอยู่หลังที่กำบัง ท่านควรต้องอยู่หลังที่กำบังเช่นกัน

16. ให้เขาสัญญาว่าจะไม่ยิง


17. ปฏิเสธ อย่ายอมเข้าหาถ้ามีอาวุธจ้องมาที่ตัวท่าน


18. อย่าเจรจาต่อรองกับคนร้ายหลายคนพร้อมกัน

19. อย่าเข้าใกล้คนร้ายถ้าเขามีระเบิด

20. การเจรจาต่อรองจากหลังที่กำบัง เป็นวิธีที่ดีกว่ายืนในที่โล่งแจ้ง

21. ห้ามปฏิเสธคำขอหรือข้อเรียกร้องของคนร้ายโดยสิ้นเชิง

22. ห้ามพูดขู่เข็ญ ข่มขู่ คนร้ายไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ

23. อย่ากำหนดเวลาในการให้อย่างหนึ่งอย่างใด

24. อย่าให้คำแนะนำใดๆถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรชี้โพรงให้กระรอก

หากโชคร้ายตกเป็นตัวประกัน คุณจะทำอย่างไร


1. ตั้ง “สติ” ให้ดี


2. งานของคุณ คือ การเอาตัวรอด


3. ตอนเริ่มแรกของการถูกจับกุมอย่าพยายามต่อสู้


4. พยายามผ่อนคลาย ยอมรับสถานการณ์


5. ทำตามคำสั่งผู้จับกุม


6. อย่าขอร้อง สารภาพ สบถ หรือร้องไห้ เพราะจะทำให้บรรยากาศตึงเครียดมากขึ้น


7. อย่าพยายามหลบหนี เว้นแต่ว่าคุณจะแน่ใจว่าหลบหนีได้สำเร็จ


8. อาจโอนอ่อนผ่อนตาม


9. ควรอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวรับรู้สภาพจิตใจ และความเป็นมาเป็นไปของผู้ก่อเหตุ เพื่อที่อาจจะได้เก็บเป็นข้อมูลไว้ใช้คราวจำเป็น


10. อย่าพยายามช่วยเหลือหากการประสานงานที่มิได้เตรียมการเป็นอย่างดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับเรา

11. ถ้ามีหน่วยช่วยเหลือเข้าไปด้วยการจู่โจม ให้นอนราบกับพื้น ยกมือขึ้นเหนือศีรษะ เมื่อสถานการณ์สงบจึงแสดงตัว

ควรใช้คำถามปลายเปิด เช่น ทำไม อย่างไร เป็นต้น หลีกเลี่ยงคำถามปลายปิด เช่น ใช่หรือไม่ใช่ ได้หรือไม่ได้ เป็นต้น เพื่อให้คนร้ายได้พูดระบายความรู้สึกออกมา เป็นการถ่วงเวลาและสามารถเรียนรู้ลักษณะของคนร้ายได้ด้วย อาจพูดทวนคำพูดของคนร้ายเพื่อถ่วงเวลาและให้ได้ใจความชัดเจนตรงกับคนร้าย

การเจรจาต่อรองยังมีรายละเอียดอีกมากทั้งวิธีการและแนวทางปฏิบัติ หลักการดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นซึ่งประชาชนสามารถนำไปปรับใช้ได้

สุดท้ายนี้ขอให้ตั้ง “สติ” ทุกครั้งเมื่อเผชิญเหตุ และขอให้ “พลังจงอยู่กับท่าน”

เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง การเจรจาต่อรองเพื่อช่วยเหลือตัวประกันกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ, หลักการเจรจาต่อรอง โดย พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ผบก.ส.3

No comments:

 

Samsung LCD televisions