Sunday, January 31, 2010

Knife sparring

Knife sparring



การฝึกมีดประกอบด้วยหลายส่วน ตั้งแต่การถือมีด ท่ายืน การตั้งรับ การบุก การเคลื่อนที่ (Footwork) เรียนรู้การเคลื่อนไหวของมีดในทิศทางพื้นฐานต่างๆ เรียนรู้ตำแหน่งในการโจมตีด้วยมีด นอกจากนั้นยังมีการฝึกซ้อมต่อสู้ด้วยมีดกับคู่ต่อสู้ที่ใช้มีดด้วยกัน (ใช้มีดซ้อม) หรือที่เรียกว่า Knife sparring


การฝึกซ้อมต่อสู้ด้วยมีดนั้นมีประโยชน์หลายอย่าง อาทิเช่น รับรู้ความตึงเครียดจากการต่อสู้ด้วยมีด เป็นการรวมทักษะทั้งหมดที่เรียนรู้มาใช้ ฝึกควบคุมการหายใจให้สม่ำเสมอเพื่อลดความเหนื่อยขณะทำการฝึกซ้อม (ในภาวะกดดันขณะทำการฝึก มักมีการกลั้นหายใจบางช่วง แต่กลับต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายมากจึงทำให้เหนื่อยง่ายมาก)


หลายคนเมื่อทำการ Sparring มักดูตอนสุดท้ายที่ใครถูกแทงหรือฟันที่ตำแหน่งใดเพื่อบอกว่าคนไหนชนะ แต่นั้นไม่ใช่ประโยชน์ที่แท้จริงของการฝึกซ้อมแบบนี้ เนื่องจากในระหว่างที่ทำการซ้อมต่อสู้กันนั้นทั้งสองฝ่ายอาจถูกแทงหรือฟัน แต่เนื่องจากเป็นมีดซ้อมจึงไม่ทำให้เกิดบาดแผล ไม่มีผลต่อร่างกาย หากเป็นมีดจริงทุกแผลที่เกิดขึ้นจะมีผลต่อจิตใจและร่างกายเสมอ ทั้งในแง่ขวัญกำลังใจของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผลของบาดแผลต่อร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวอาจจำกัดลง การเสียเลือด ความเจ็บปวด เป็นต้น ขึ้นกับตำแหน่งและความรุนแรงของบาดแผล การดูเพียงผลสุดท้ายว่าใครถูกแทงหรือฟันในตำแหน่งใดเพียงอย่างเดียวนั้นอาจเป็นการสรุปที่ง่ายเกินไป


Knife sparring ไม่ใช่เป็นเรื่องของกีฬา เป็นการฝึกฝนทักษะการใช้มีดโดยภาพรวม คนเก่งก็อาจพลาดถูกฟันหรือแทงได้เช่นกัน ไม่มีใครแพ้หรือชนะใน Knife sparring (หลายคนพยายามหาคนแพ้หรือชนะ)


การซ้อมต่อสู้ด้วยมีดนั้นถึงแม้จะใช้มีดซ้อม (ซึ่งมักเป็นมีดที่นิ่ม บางครั้งใช้มีดซ้อมที่แข็ง) แต่ก็มีโอกาสเกิดอันตรายได้หากแทงหรือฟันไปถูกตำแหน่งที่อ่อนแอของร่างกาย ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ใช้มีดทั้งสองนั้นสามารถควบคุมอารมณ์และกำลังที่ใช้ในการซ้อมได้หรือไม่ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยก็ต้องใส่เครื่องป้องกันร่างกายโดยเฉพาะสายตา ควรใส่แว่นตานิรภัยเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ตาเสมอ ส่วนการใส่เครื่องป้องกันส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ศีรษะ ท่อนแขน มือ หน้าแข้ง ลำตัว ก็แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละหลักสูตรการซ้อม แน่นอนว่าการใส่เครื่องป้องกันเหล่านี้อาจทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายติดขัดไม่เป็นธรรมชาติไปบ้างแต่ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ หลักสำคัญของการฝึกซ้อม คือ ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับแรก


ดังนั้น Knife sparring ไม่สามารถจำลองการต่อสู้ด้วยมีดจริงได้ทั้งหมดแต่ก็นับได้ว่าใกล้เคียง เราควรรู้ข้อดีและข้อจำกัดของการฝึกซ้อมแต่ละอย่าง เสริมสร้างทักษะด้านต่างๆจากการฝึกซ้อมหลายรูปแบบ และต้องตระหนักว่าความปลอดภัยในการซ้อมต้องมาเป็นอันดับแรก

ทุกครั้งที่จับมีดขอให้มี "สติ"


เรียบเรียงโดย Batman

Saturday, January 30, 2010

หลีกเลี่ยงดีกว่าปะทะ

หลีกเลี่ยงดีกว่าปะทะ



มีคนเคยถามผมว่า “จำเป็นหรือที่เราต้องฝึกศิลปะการต่อสู้เพื่อป้องกันตัว” ผมตอบว่า “ถ้าเป็นปัจจุบันนี้ จำเป็นครับ..... แต่ไม่ใช่จำเป็นที่สุด”


มีมากกว่าหนึ่งวิธีที่คุณจะป้องกันตัวจากการถูกทำร้ายและความรุนแรงต่างๆ ร่างกายที่แข็งแรงและทักษะการต่อสู้เป็นเพียงไพ่ใบสุดท้าย ที่คุณจะทิ้งลงเพื่อเอาชนะบนโต๊ะพนัน และเพื่อประกันว่าคุณจะไม่แพ้ ไพ่ใบสุดท้ายที่คุณเก็บซ่อนไว้อาจเป็นไพ่แต้มสูงสุด แต่คุณก็รู้ดีว่าวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันการแพ้พนัน คือ ไม่เข้าไปในบ่อนตั้งแต่แรก


มีทฤษฎีอยู่ว่า “ไม่มีภัยพิบัติหรืออาชญากรรมใดๆเกิดขึ้นโดยไม่มีเค้าลางหรือสัญญาณเตือนภัยดังมาก่อน” มันอยู่ที่คุณจะสัมผัสหรืออ่านรหัสที่ส่งมาพร้อมสัญญาณนั้นได้หรือไม่ นักวิทยาศาสตร์ยอมรับมานานแล้วว่า สัตว์ต่างๆมีประสาทสัมผัสที่ละเอียดอ่อนและมีประสิทธิภาพกว่ามนุษย์หลายร้อยหลายพันเท่า นักวิจัยกำลังพยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจกับความสามารถพิเศษนี้แล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น โครงการฝึกปลาโลมาเพื่อค้นหาและกู้ภัยทางทะเล ฝึกนกเพื่อการค้นหาลาดตระเวนทางอากาศ จนถึงฝึกสุนัขเพื่อให้ค้นหาวัตถุระเบิดและยาเสพติด ล่าสุดถึงกับฝึกสุนัขเลี้ยงให้เตือนภัยเมื่อเจ้าของที่มีโรคประจำตัวแล้วมีอาการกำเริบ เช่น เบาหวาน, มะเร็ง เพราะสุนัขมีประสาทดมกลิ่นที่สัมผัสได้ถึงอาการเริ่มต้นของโรคนั้นๆ กลิ่นซึ่งเครื่องมือทันสมัยที่สุดก็ยังตรวจไม่พบ


มนุษย์ไม่มีประสาทสัมผัสที่ดีเท่าสัตว์แต่เรามีสมองที่ใหญ่กว่าในการรวบรวมข้อมูลและประมวลผลเพื่อการเดาถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ดีกว่า รวมทั้งการเก็บผลลัพธ์ไว้เป็นประสบการณ์แล้วถ่ายทอดต่อๆกันไป แต่เพราะการอยู่ร่วมกันในเมืองใหญ่และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เรามีเครื่องมือมากมายเพื่อทำหน้าที่แทนประสาทสัมผัสของเรา แล้วก็พึ่งพามันมากจนละเลยความสามารถพิเศษที่เรามี


เราลืมไปว่าไม่มีเครื่องมือใดๆที่จะมาแทนที่ประสบการณ์และความสามารถในการประมวลผลและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ สิ่งเหล่านี้สมองเราทำได้และทำอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีแนวโน้มจะเกิดภัยคุกคาม สมองจะส่งสัญญาณเตือนในรูปของลางสังหรณ์ ซึ่งแสดงออกทางร่างกายโดยอาการต่างๆ ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกไม่ปลอดภัย ลังเล ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เราอาจสัมผัสไม่ได้หรือได้แต่ละเลยเสียเพราะไม่เข้าใจมัน จนเดินเข้าสู่กับดักอาชญากรรมความรุนแรง ถึงตอนนั้นแม้กล้ามเนื้อที่แข็งแรงและทักษะการต่อสู้ก็ช่วยเราไม่ได้ เพราะคนร้ายในยุคสมัยนี้มักลอบเล่นงานเราลับหลังไม่เปิดโอกาสให้เราได้ตั้งตัว

ทางเดียวที่จะมีโอกาสป้องกันตัว คือ ต้องรู้ตัวก่อนว่าจะถูกเล่นงานโดยพยายามใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ตาต้องกวาดมองรอบตัวอย่างพินิจพิเคราะห์ มองหาสิ่งผิดปกติต่างๆ ทั้งสิ่งของและผู้คนที่อยู่ผิดที่ผิดทาง หูคอยรับฟังเสียงที่ได้ยิน แยกแยะเสียงผิดปกติอันอาจเกิดจากคนร้ายที่แฝงตัวอยู่ จมูกต้องคอยรับกลิ่นผิดปกติ อาจเป็นกลิ่นสารเคมีที่เป็นพิษต่อเรา ประสาทสัมผัสผิวหนังทั้งมือและเท้าก็คอยตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้มที่เราอยู่หรือจะมุ่งไป เพื่อเตือนร่างกายให้เตรียมรับสภาพภูมิประเทศที่แตกต่าง ลิ้นควรทำหน้าที่พิสูจน์รสชาติที่ผิดปรกติอันเกิดจากคนร้ายผสมยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับในอาหารหรือเครื่องดื่มซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้รับข่าวจากสื่ออยู่บ่อยๆ


การพยายามรวบรวมข้อมูลรอบตัวด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าให้สมองไว้ประมวลผลและส่งสัญญาณเตือนภัยแก่เราอาจได้ผลไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ อันเนื่องจากประสาทสัมผัสทั้งห้าของเรามีประสิทธิภาพและทักษะน้อยเกินไปแต่ก็ควรเริ่มต้นฝึกฝนได้ ส่วนข้อผิดพลาดที่เหลืออยู่อันเป็นเหตุให้คุณต้องเผชิญหน้ากับคนร้าย ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณเตรียมพร้อมและฝึกฝนการป้องกันตัวได้ดีเพียงใด นี่คือไพ่ใบสุดท้ายที่คุณต้องทิ้งลงเพื่อช่วยให้คุณรอดจากภัยคุกคาม อย่ามัวลังเลอยู่เลยรีบออกไปฝึกฝนเพิ่มประสิทธิภาพให้กับร่างกายของเรากันเถอะ ฝึกไว้ไม่ได้ใช้ยังดีกว่าจำเป็นต้องใช้แล้วว่างเปล่า


เรียบเรียงโดย Snap shot

Tuesday, January 26, 2010

How to prepare for self-defense


How to prepare for self-defense



ผู้หญิงมักตกเป็นเหยื่อของคนร้ายไม่ว่าจากการชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ฆาตกรรม ข่มขืน เพราะโดยสภาพร่างกายแล้วย่อมอ่อนแอกว่าผู้ชายซึ่งมักเป็นคนร้าย แต่สิ่งนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเช่นนี้เสมอไป หากผู้หญิงเหล่านี้เรียนรู้วิธีการเอาตัวรอด วิธีเผชิญเหตุการณ์ และวิธีแก้ปัญหาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมกับพวกเขา ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอาจทำให้เบาบางลงหรือหมดไปได้


การป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายย่อมเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการป้องกันตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สามัญสำนึกก็พอ แต่บางครั้งความรีบเร่งอาจทำให้ละเลยไปได้ จะขอยกตัวอย่างบางสิ่งที่อาจช่วยป้องกันการเกิดภัยคุกคามได้



- เชื่อในสัญชาติญาณของคุณ (Instinct) มันเป็นความรู้สึกที่อยู่ส่วนลึกในจิตใจ ซึ่งจะทำให้คุณเกิดความลังเลก่อนที่จะทำอะไรลงไป หากมีความรู้สึกไม่ปกติหรือไม่ค่อยสบายใจต่อสถานการณ์หรือสถานที่ใดก็ตาม ให้รีบออกมาจากที่นั้น อย่าทำอะไรที่ขัดกับความรู้สึกไม่ดีนั้น


- การรับรู้สิ่งรอบกาย (Awareness) เป็นเครื่องมือสำคัญมากอย่างหนึ่งของการป้องกันตัวเอง เมื่อคุณเปิดตา เปิดหู เปิดใจ รับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว คุณจะสามารถสัมผัสได้ถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์และหาทางแก้ไขหรือป้องกันก่อนเกิดเหตุ เช่น ถ้าคิดว่าจำเป็นจะต้องหาคนเดินไปส่งที่รถเป็นเพื่อนเพื่อความปลอดภัยก็จงทำเสีย


- ถ้าต้องออกไปในที่สาธารณะก็จงอย่าใส่สิ่งของมีค่าให้เห็นเด่นชัด เพราะมันเป็นตัวล่อให้ภัยคุกคามมาหาคุณ


- เดินด้วยความมั่นใจ ศีรษะตั้งตรง ด้วยท่าทางเช่นนี้เป็นเครื่องบ่งว่าเรามีความมั่นใจเป็นการยากที่จะขโมยหรือลักทรัพย์ พวกโจรมักมองหาเหยื่อที่ไม่ค่อยระวังตัวมากกว่า อีกทั้งการเดินศีรษะตรงเป็นการเปิดตาสามารถมองรับรู้สิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าการเดินมองพื้น ซึ่งภัยคุกคามสามารถเข้าประชิดตัวได้ง่ายกว่า


- ในยามเผชิญหน้ากับภัยคุกคามให้สบสายตาตลอดและอาจต้องตั้งท่าเตรียมพร้อมรับมือ มันเป็นภาษากายที่บอกกับคนร้ายว่าเราไม่ใช่คนโง่และพร้อมที่จะตอบโต้เมื่อจำเป็น (คนร้ายมักไม่เลือกเหยื่อที่อาจทำให้เกิดความยุ่งยาก)


- การใช้บริการขนส่งสาธารณะในขณะที่มีผู้คนใช้ร่วมกันมากๆจะปลอดภัย แต่ถ้าเป็นในช่วงเวลาหรือสถานที่เปลี่ยวอาจเกิดอันตรายจากพวกมิจฉาชีพได้ หากเลี่ยงได้ควรเลี่ยง


- หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการถูกโจมตีจากภัยคุกคามได้แล้ว ก็จงใช้ประโยชน์จากสิ่งของรอบตัวเองให้มากที่สุด หรือใช้สิ่งที่คุณพกพาติดตัวไว้เพื่อการป้องกันตัว เช่น กุญแจ ขวดน้ำหอม ปากกา ไม้ ขวดน้ำ เป็นต้น หรือใช้อวัยวะของคุณเอง เช่น ฟัน (กัด) นิ้ว (Finger jab) เตะ ศอก หมัด ส้นมือกระแทก เข่า ร้องตะโกน เป้านกหวีด จุดประสงค์เพื่อให้มีเวลามากพอที่คุณจะหนีได้



- อาจพกสเปรย์พริกไทย นกหวีด ติดกระเป๋าไว้ซึ่งสามารถใช้ได้ในยามจำเป็น อีกทั้งยังมีอาวุธซึ่งผู้หญิงใช้ได้ไม่ยากนักแต่อาจต้องฝึกฝนบ้าง เช่น Kubotan (เป็นแท่งเหล็กกลมยาวประมาณ 5.5 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.56 นิ้ว เซาะร่องกันลื่นไว้รอบแท่งเพื่อให้กำได้ไม่ลื่น มีไว้สำหรับใช้กระแทก หรือกดบนร่างกายตำแหน่งที่สำคัญ) แท่ง Kuboton เหล่านี้อาจติดไว้กับกุญแจ และคนส่วนใหญ่ไม่คิดว่ามันใช้เป็นอาวุธได้



การป้องกันย่อมดีที่สุด แต่เมื่อมีภัยคุกคามเกิดขึ้นแล้วอย่าคาดหวังว่าจะมีคนมาช่วย เราต้องพึ่งตนเองหาวิธีและเรียนรู้วิธีเอาตัวรอด ความกลัวอาจเป็นทั้งมิตรและศัตรูของเราเอง เราควรเรียนรู้ที่จะใช้ความกลัวผลักดันตัวเองเพื่อความอยู่รอด พยายามสร้างความได้เปรียบให้เหนือคนร้ายให้มากที่สุด รู้ว่าจะเก็บสิ่งของที่อาจใช้ช่วยในยามจำเป็นไว้ที่ไหน (พยามเก็บไว้หลายที่ เพราะถ้าเก็บไว้ในกระเป๋าถือทุกอย่าง ซึ่งคนร้ายมักยึดหรือขโมยกระเป๋าถือเป็นอย่างแรก เราก็จะไม่เหลืออะไรไว้ป้องกันตัวเลย)


นอกจากนั้นร่างกายของเราเองก็เป็นอาวุธที่ดีได้เช่นกัน หากเรียนรู้ที่จะใช้มันอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเอาไปจากเราได้


สุดท้ายนี้ขอให้ตั้ง “สติ” ทุกครั้งเมื่อเผชิญเหตุ และขอให้ “พลังจงอยู่กับท่าน”

เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง Anticipation-How to prepare yourself for a dangerous situation ของ Self defense, a practical guide to self defense for women, Kubotan key chain ของ self defense 4 women

Sunday, January 24, 2010

การฝึกอบรม THAI SELF-DEFENSE 3

การฝึกอบรม THAI SELF-DEFENSE 3



เปิดรับการฝึกอบรมการป้องกันตัวสำหรับประชาชนทั่วไปหลักสูตร 3 (Thai Self-Defense 3)


จุดประสงค์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการป้องกันตัวในสถานการณ์วิกฤติให้กับประชาชนทั่วไป


เนื้อหาการฝึกอบรม (การบรรยายและปฏิบัติ)


- หลักการป้องกันตัวและการประเมินสถานการณ์


- ทบทวนความรู้พื้นฐาน


- การป้องกันตัวในที่แคบ (Confined space self-defense)


- การป้องกันตัวด้วยสิ่งของรอบตัว (Improvised weapons for self-defense)


- การป้องกันตัวใน “รถ” จากการถูกจี้ด้วยอาวุธ มีด ปืน และเชือกรัดคอ (Self-defense inside a car)


ระยะเวลาการฝึกอบรม วันเสาร์สัปดาห์ที่ 3 ของทุกเดือน เวลา 9:00 - 16:00 น. (จะโทรยืนยันวันฝึกที่แน่นอนอีกครั้ง)


ผู้รับการฝึกอบรม หญิงหรือชาย อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป (ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ต้องมีผู้ปกครองยินยอม) ต้องผ่านหลักสูตร THAI SELF-DEFENSE 2 มาก่อน (รับจำนวนจำกัด)


สถานที่ ชั้น 3 ร้านขอขวัญ เลขที่ 102/24 ซอย พัฒนาการ 58 เยื้อง ร.ร. เตรียมพัฒนาการ เขต สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250


แผนที่


GPS N 13-43-832, E 100-38-871


ค่าฝึกอบรม (โอนเงิน) 2800 บาท/ท่าน (รวมค่าอาหาร)


การแต่งกาย เสื้อยืด กางเกงวอร์ม หรือ แต่งกายรัดกุม


เอกสารประกอบการสมัคร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ใบ, ใบยินยอมจากผู้ปกครอง (ในกรณีผู้รับการฝึกอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์)


ครูฝึก ครู วีระ (Batman), ครู เจี๊ยบ, ครู Snap shot


ติดต่อ คุณ ต่าย โทร. 089-817-7815, Fax. 02-349-6207


e-mail : thaiselfdefense@gmail.com


www.thaiselfdefense.com

การฝึกอบรม THAI SELF-DEFENSE 2

การฝึกอบรม THAI SELF-DEFENSE 2

เปิดรับการฝึกอบรมการป้องกันตัวสำหรับประชาชนทั่วไปหลักสูตร 2 (Thai Self-Defense 2)



จุดประสงค์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการป้องกันตัวในสถานการณ์วิกฤติให้กับประชาชนทั่วไป


เนื้อหาการฝึกอบรม (การบรรยายและปฏิบัติ)


- หลักการป้องกันตัวและการประเมินสถานการณ์


- เรียนรู้การตอบโต้ด้วยกำลัง (Strike)


- เพิ่มเติมการป้องกันตัวด้วยมือเปล่า (Empty hand self-defense)


- เพิ่มเติมการป้องกันตัวจากภัยคุกคามด้วย มีด ปืนพก กระบองสั้น (Disarming tactics)


- เพิ่มเติมการป้องกันตัวขณะนอนบนพื้น (Ground self-defense)


- ภัยคุกคามหลายคน (Multiple attackers)


ระยะเวลาการฝึกอบรม วันเสาร์สัปดาห์ที่ 3 ของทุกเดือน เวลา 9:00 – 16:00 น. (จะโทรยืนยันวันฝึกที่แน่นอนอีกครั้ง)


ผู้รับการฝึกอบรม หญิงหรือชาย อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป (ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ต้องมีผู้ปกครองยินยอม) ต้องผ่านหลักสูตร THAI SELF-DEFENSE 1 มาก่อน (รับจำนวนจำกัด)


สถานที่ ชั้น 3 ร้านขอขวัญ เลขที่ 102/24 ซอย พัฒนาการ 58 เยื้อง ร.ร. เตรียมพัฒนาการ เขต สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250


แผนที่


GPS N 13-43-832, E 100-38-871


ค่าฝึกอบรม (โอนเงิน) 2500 บาท/ท่าน (รวมค่าอาหาร)


การแต่งกาย เสื้อยืด กางเกงวอร์ม หรือ แต่งกายรัดกุม


เอกสารประกอบการสมัคร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ใบ, ใบยินยอมจากผู้ปกครอง (ในกรณีผู้รับการฝึกอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์)


ครูฝึก ครู วีระ (Batman), ครู เจี๊ยบ, ครู Snap shot


ติดต่อ คุณ ต่าย โทร. 089-817-7815, Fax. 02-349-6207


e-mail : thaiselfdefense@gmail.com


www.thaiselfdefense.com

Knife gripping patterns

Knife gripping patterns



มีรูปแบบการถือมีด (Knife gripping patterns) ต่อสู้หลายแบบ แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อจำกัดต่างกัน การใช้รูปแบบใดนั้นขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ลักษณะการออกแบบของมีด การฝึกฝน ความถนัดของผู้ใช้ เป็นต้น จะขอกล่าวเฉพาะการจับมีดระบบต่อสู้ (Knife fighting system)



1. Filippino grip : เป็นรูปแบบที่นิยมมากในการจับมีดต่อสู้ โดยใช้สามนิ้วในการกำด้ามมีด ส่วนนิ้วโป้งและนิ้วชี้เป็นอิสระสามารถใช้ในการควบคุมมีดหรือคู่ต่อสู้ได้ ด้านคมมีดชี้ลงล่าง ให้ความมั่นคงในการแทงและปาดเป็นธรรมชาติ


2. Saber grip : นิยมมากเช่นกัน นิ้วโป้งวางอยู่โคนมีด ซึ่งมีดส่วนใหญ่มักทำลายกันลื่นเอาไว้เพื่อให้วางนิ้วโป้งในตำแหน่งนี้


3. Hammer grip : (ผมชอบจับแบบนี้) นิยมในการจับมีดขนาดใหญ่และมีดต่อสู้ในหมู่ทหาร สามารถใช้จับมีดต่อสู้ทั่วไปได้ด้วย ด้านคมมักอยู่แนวเดียวกับข้อนิ้วที่สอง มีความมั่นคงในการถือแต่การแทงอาจไม่ค่อยเป็นธรรมชาติเหมือนการจับแบบอื่น


4. Slash grip : มักไม่ได้ใช้เป็นการจับแบบตลอดเวลาเนื่องจากความมั่นคงไม่มากเท่าการจับแบบอื่น สามารถใช้ในการโจมตีหลังเปิดมีดเสร็จหรือบางช่วงของการใช้มีด แต่ก็มีบางระบบใช้การจับแบบนี้เป็นหลัก หรือมีดบางแบบหากถือด้วยวิธีนี้อาจใช้ได้ง่ายกว่าแบบอื่น


5. P’kal grip (Pikal, Pakal) : ไม่ค่อยนิยม หันด้านคมมีดขึ้นบนในกรณีที่ถือเอาปลายมีดชี้ออกนอก หรือหันด้านคมมีดเข้าหาตัวเองในกรณีถือมีดแบบ Reverse grip มีการออกแบบมีดที่ใช้การจับแบบนี้โดยเฉพาะ

6. "Regular" Reverse grip or Ice-pick grip  : เป็นรูปแบบที่นิยมมากเช่นกัน ด้านคมมีดหันออกนอกตัวผู้ถือมีด มีประสิทธิภาพสูงในการต่อสู้ระยะประชิดมากๆ มักใช้ในผู้ที่มีทักษะในการใช้มีดสูงและมั่นใจในการใช้มีดระยะประชิด



7. มี Reverse grip อีกสองแบบซึ่งไม่ค่อยนิยมและไม่แนะนำ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของข้อมือไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ

การจับมีดนั้นอาจมีลายละเอียดปลีกย่อยต่างกันได้อีก แต่ไม่มีรูปแบบใดสมบูรณ์แบบไม่มีข้อเสีย การใช้มีดได้ดีหรือไม่ขึ้นกับผู้ที่ถือมีดเป็นสำคัญ หากฝึกฝนบ่อยๆจนเกิดความชำนาญ และมีความมั่นใจในการใช้มีดเพื่อปกป้องตนเองก็ถือว่าเพียงพอแล้ว

ผู้ที่พกมีดเพื่อป้องกันตัวเองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้มีดซึ่งตนพก และรู้จักวิธีใช้อย่างดีไม่เช่นนั้นมีดเล่มนั้นอาจกลายเป็นอาวุธที่ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเราเอง

สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับมีดขอให้มี “สติ”

เรียบเรียงโดย Batman
ขอขอบคุณ พี่อ่อนหัด, พี่ Snap shot, พี่ JOEdogtag ที่ให้ความรู้

Saturday, January 23, 2010

อุปกรณ์ซ้อมของ SSUS

อุปกรณ์ซ้อมของ SSUS



อุปกรณ์ช่วยฝึกศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวคุณภาพสูง


นันชากุ (กระบองสองท่อน)



1. Beginning : ยาว 30 ซ.ม., ช่วงโซ่ 14 ซ.ม., น้ำหนัก 225 กรัม, วัสดุ โฟมยาง, ซูเปอร์รีน, สเตนเลสส์, ราคา 600 บาท







2. Advanced : ยาว 28 ซ.ม., ช่วงโซ่ 13 ซ.ม., น้ำหนัก 175 กรัม, วัสดุ อลูมิเนียม, ซูเปอร์รีน, สเตนเลสส์, ราคา 600 บาท






3. Pro : ยาว 28 ซ.ม., ช่วงโซ่ 13 ซ.ม., น้ำหนัก 250 กรัม, วัสดุ อลูมิเนียม, ซูเปอร์รีน, สเตนเลสส์, ราคา 1000 บาท




โบเคน (ดาบไม้แบบญี่ปุ่น)



1. Beginning : ใบยาว 28.5 นิ้ว, น้ำหนักประมาณ 550 กรัม, ด้ามยาว 11 นิ้ว, วัสดุ ไม้กะเปอร์ (มาเลเซีย), ราคา 600 บาท



2. Advanced : ใบยาว 28.5 นิ้ว, น้ำหนักประมาณ 750 กรัม, ด้ามยาว 11 นิ้ว, วัสดุ ไม้เหล็ก (พันชาติ), ราคา 800 บาท


มีดซ้อม



วัสดุ แกนไม้หุ้มด้วยโฟมยาง, ราคา 350 บาท


มีดซ้อมคารัมบิท


วัสดุ เบกาไลท์ ด้ามบาง, ราคา 300 บาท


กระบองยาง


วัสดุ ท่อพลาสติกหุ้มด้วยโฟมยาง, ขนาดยาวตั้งแต่ 16 – 63 นิ้ว(ตามสั่ง), ราคา ติดต่อ Snap shot


ทอนฟา



ขนาดตามที่สั่งทำ, ราคา ติดต่อ Snap shot


สนใจติดต่อ Snap shot โทร. 081-636-7296

Easy Defense Club

Easy Defense Club



สถานที่ฝึกซ้อมการป้องกันตัวในเชิง Tactical สำหรับสุจริตชนในบรรยากาศสบายๆแบบ Open Air ไม่อึดอัด อุปกรณ์ในการฝึกครบครัน เน้นความเป็นส่วนตัว สามารถนัดเวลาฝึกล่วงหน้าได้


วิชาที่เปิดสอน


- ยุทธสติในการป้องกันตัว (Awareness Self-defense)

- ศิลปะป้องกันตัวในชีวิตประจำวัน (Surviving the Streets)

- ศิลปะป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรี (Self-defense Strategies & Combat Tactics for Women)

- ศิลปะการใช้มีดในการป้องกันตัว (Tactical Knife Defense)

- มวยไทยไชยา (Muay Thai Chiya)


คุณสมบัติของผู้รับการอบรม


1. เป็นสุจริตชน อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อน


2. ไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายในระหว่างการฝึก


3. หากเป็นเยาวชนต้องมีหนังสืออนุญาตจากผู้ปกครอง


สถานที่อบรม


ณ. Easy Defense Club


เลขที่ 2291 ถ. พัฒนาการ ซ. พัฒนาการ 45 แขวง สวนหลวง


เขต สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250


โทร. 02-321-2982


081-911-8945

(ทุกวิชาสามารถนัดเรียนได้)


ค่าใช้จ่ายในการอบรม


- ครั้งละ 300 บาท (ต่อ 2 ช.ม. หรือ ช.ม. ละ 150 บาท)
- ครั้งละ 500 บาท ต่อ 2 ช.ม. สำหรับการฝึกอบรมศิลปะการใช้มีดเพื่อป้องกันตัว

Monday, January 18, 2010

การฝึกอบรม THAI SELF-DEFENSE 1

การฝึกอบรม THAI SELF-DEFENSE 1


เปิดรับการฝึกอบรมการป้องกันตัวสำหรับประชาชนทั่วไปหลักสูตร 1 (Thai Self-Defense 1)

จุดประสงค์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการป้องกันตัวในสถานการณ์วิกฤติให้กับประชาชนทั่วไป


เนื้อหาการฝึกอบรม (การบรรยายและปฏิบัติ)


- หลักการป้องกันตัวและการประเมินสถานการณ์


- ความรู้เบื้องต้นของอาวุธ ปืน มีด กระบองดิ้ว (Baton)


- การป้องกันตัวด้วยมือเปล่าขั้นพื้นฐาน (Basic empty hand self-defense)


- การป้องกันตัวจากภัยคุกคามด้วย มีด ปืนพก กระบองสั้น เบื้องต้น (Basic disarming tactics)


- พื้นฐานการป้องกันตัวขณะนอนบนพื้น (Basic ground self-defense)


ระยะเวลาการฝึกอบรม วันเสาร์สัปดาห์ที่ 3 ของทุกเดือน เวลา 9:00 - 16:00 น. (จะโทรยืนยันวันฝึกที่แน่นอนอีกครั้ง)


ผู้รับการฝึกอบรม หญิงหรือชาย อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป (ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ต้องมีผู้ปกครองยินยอม) รับจำนวนจำกัด


สถานที่ ชั้น 3 ร้านขอขวัญ เลขที่ 102/24 ซอย พัฒนาการ 58 เยื้อง ร.ร. เตรียมพัฒนาการ เขต สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250


แผนที่


GPS  N 13-43-832, E 100-38-871
ค่าฝึกอบรม (โอนเงิน) 2000 บาท/ท่าน (รวมค่าอาหาร)

การแต่งกาย เสื้อยืด กางเกงวอร์ม หรือ ชุดลำรองรัดกุม

เอกสารประกอบการสมัคร ใบสมัคร, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ใบ, ใบยินยอมจากผู้ปกครอง (ในกรณีผู้รับการฝึกอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์)

ครูฝึก Batman, ครูเจี๊ยบ, Snap shot

ติดต่อ คุณ ต่าย โทร. 089-817-7815, Fax. 02-349-6207


e-mail : thaiselfdefense@gmail.com
http://www.thaiselfdefense.com/

Wednesday, January 13, 2010

สังคมไม่ปลอดภัย ทำอย่างไรดี


สังคมไม่ปลอดภัย ทำอย่างไรดี



ทุกวันนี้หากใครสักคนเกิดฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า ตนกำลังใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเมืองที่ไม่ปลอดภัยอย่างยิ่ง อาจเป็นเพราะได้อ่านข่าวความรุนแรงในสื่อต่างๆ พบเห็นด้วยตาหรือได้ประสบกับตนเอง และคงไม่มีใครอยากเป็นส่วนหนึ่งของข่าวร้ายเหล่านั้น ในขณะที่ความรุนแรงเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


คุณมีทางเลือกอยู่สองทางๆแรก คือ ดำเนินชีวิตไปเรื่อยๆราวกับว่าความรุนแรงเหล่านั้นมันไกลตัวมากไม่มีทางเกิดกับเราอย่างแน่นอน หรือหากเกิดภัยคุกคามกับตัวคุณก็ถือเสียว่าเป็นเคราะห์กรรมของเราเองไม่อาจเลี่ยงได้ เป็นสิ่งที่สมควรจะได้รับอยู่แล้วจากเจ้ากรรมนายเวรในชาติปางก่อน


ทางที่สอง คือ คุณเลือกที่จะปกป้องตนเองจากภัยคุกคามและความรุนแรงในสังคม เพราะคุณมีสิ่งที่จะต้องทำอีกมาก มีคนที่คุณรักและต้องดูแลอยู่ข้างหลัง หากคุณเป็นอะไรไปพวกเขาเหล่านั้นจะทำอย่างไร



แล้ว “ฉันจะปกป้องตนเองได้อย่างไร”


เคยมีการสำรวจคนนับพันต่อคำถามที่ว่า “ถ้าคุณคิดว่าตัวเองกำลังตกอยู่ในอันตราย คุณจะปกป้องคุ้มครองตัวเองได้อย่างไร” พวกเขาให้คำตอบที่น่าสนใจไว้สี่ข้อ ดังนี้


1 หาซื้อปืนมาไว้เฝ้าบ้านและป้องกันตัวเอง


2 หาอาวุธอื่นที่ราคาถูกกว่าเอาไว้ใกล้ตัวเพื่อป้องกัน


3 หาคนมาคุ้มครอง


4 ฝึกศิลปะการต่อสู้ไว้เพื่อป้องกันตัว


แล้วคุณล่ะ ...... เลือกข้อไหน? หากคุณเลือกข้อสุดท้ายก็ต้องพบกับคำถามต่อไปอีกว่า จะฝึกวิชาอะไร (ยูโด, ไอคิโด, เทควันโด, คาราเต้ ฯลฯ) วิชาไหนดีที่สุด ซึ่งสามารถนำไปใช้อย่างได้ผล จะหาครูดีๆเก่งๆได้ที่ไหน ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจความหมายระหว่างคำว่า Martial art และ Self-defense


Martial art หมายถึง ศิลปะการต่อสู้ที่มีการจัดระบบการเรียนรู้และฝึกฝนเป็นหลักสูตรที่ชัดเจน ถ่ายทอดต่อเนื่องกันมารุ่นต่อรุ่นเป็นระยะเวลายาวนาน มีสัญลักษณ์แสดงขั้นตอนความสำเร็จในการฝึกฝนอย่างแน่ชัด เป็นสายคาดเอวสีต่างๆ เป็นประกาศนียบัตรหรือเครื่องหมายต่างๆตามแต่จะกำหนด



มีแนวทางในการใช้พละกำลังต่อสู้หรือปรัชญาในการใช้อวัยวะร่างกายเป็นอาวุธอยู่ในแนวทางเดียวกันตลอดตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับสูงสุด เน้นภาคปฏิบัติที่ต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ถูกจัดเป็น “กีฬา” ที่อาศัยการจัดแข่งขันวัดความสามารถกันเองภายใน ต่างค่าย หรือต่างโรงฝึก แต่ต้องเป็นระบบเดียวกันทั้งในและต่างประเทศ


Self-defense หมายถึงการป้องกันตัว ส่วนใหญ่เน้นสอนทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ โดยภาคทฤษฏีมักสอนเกี่ยวกับวิธีการหลีกเลี่ยงอันตรายในสถานการณ์คับขัน การระแวดระวังภัยอันเนื่องมาจากอาชญากรรมความรุนแรงต่างๆ แนะนำหน่วยราชการที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเมื่อเราตกในอันตราย รวมทั้งแง่มุมทางกฎหมาย



ส่วนภาคปฏิบัติก็มุ่งเน้นให้เราใช้พละกำลังป้องกันตัวอย่างเหมาะสมแก่สภาพการณ์ โดยไม่ผูกพันกับแนวทางการต่อสู้ของระบบใดระบบหนึ่งโดยเฉพาะ แนะนำให้รู้จักและคุ้นเคยกับการใช้อาวุธพื้นฐานต่างๆ เพื่อให้เราสามารถหยิบจับวัสดุและอุปกรณ์รอบกายมาใช้ป้องกันตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ครูฝึกในระบบ Self-defense ที่ดีจะต้องไม่แนะนำหรือยั่วยุให้ลูกศิษย์เข้าต่อสู้กับคนร้ายหรือผู้อื่น ด้วยคำพูดประมาณว่า “คุณจบจากที่นี่ไปแล้วคุณไม่ต้องกลัวใครทั้งนั้น” หรือ “คุณสู้ได้อยู่แล้ว” อันจะทำให้ลูกศิษย์เกิดความมั่นใจผิดๆ แล้วอาจนำตนเองต้องตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิตได้


การฝึกของกลุ่ม Self-defense มักพยายามฝึกรับมือกับเหตุคับขันเมื่อถูกจู่โจมเข้าทำร้ายด้วยอาวุธหรือมือเปล่า โดยจำลองสภาพใกล้เคียงความจริงเพื่อให้ผู้ฝึกคุ้นเคยกับความกดดันเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์เลวร้าย



ในต่างประเทศมีการแบ่งแยกระบบการต่อสู้ป้องกันตัวทั้งสองแนวทางนี้มานานแล้ว แต่ในเมืองไทยไม่มีการแยกแยะอย่างชัดเจน เราต้องเลือกเองให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายตนเอง คุณสามารถเลือกเรียนศิลปะการต่อสู้ใดก็ได้ที่คิดว่าสามารถตอบสนองความต้องการของคุณ พึงระลึกไว้เสมอว่าเรียนเพื่อการป้องกันตัว จึงควรเน้นและจดจำสิ่งที่มีประโยชน์เพื่อการป้องกันตัว


หลักพิจารณาง่ายๆว่า Martial art ที่เหมาะจะใช้ป้องกันตัวนั้น ควรมีลักษณะดังนี้


1 ต้องเน้นป้องกันตัวไม่ใช่ทำร้ายคู่ต่อสู้


2 มีการเคลื่อนไหวที่ลื่นไหลไม่ฝืนความรู้สึก


3 ความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน


4 ทักษะสำคัญกว่าความรู้ที่มากมายเหลือเฟืออันเนื่องมาจากการฝึกฝน


“เรียนรู้ฝึกฝนไว้แล้วไม่ได้ใช้ ดีกว่าจำเป็นต้องใช้แล้วไม่รู้”


เรียบเรียงโดย Snap shot

Wednesday, January 6, 2010

Fight or Flight


Fight or Flight

เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤติอันอาจเป็นภัยต่อชีวิต (Life Threatening Situation) จะมีกระบวนการทางจิตใจหลายอย่างเพื่อนำไปสู่การตอบสนองทางร่างกายต่อสถานการณ์นั้นๆเพื่อความอยู่รอด เราเรียกว่า การตอบสนองแบบสู้หรือหนี (Fight or Flight Response) สมองและจิตใต้สำนึกจะเป็นตัวกำหนดว่าในสถานการณ์นั้นๆเราจะสู้หรือหนีเพื่อเอาตัวรอด ในคนมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ อาทิเช่น การมองเห็นจะชัดบริเวณกลางภาพแต่จะไม่ชัดบริเวณขอบๆคล้ายกับมองผ่านอุโมงค์ (Tunnel Vision) เป็นการให้ความสนใจกับภัยคุกคามเบื้องหน้าเป็นสำคัญซึ่งกำลังจะเข้ามาทำอันตรายเราจนถึงชีวิตได้ ความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อน เช่น การเคลื่อนไหวของนิ้วหรือมือ จะไม่ราบรื่นเท่าช่วงปกติ มีการตื่นตัวของร่างกายอย่างเต็มที่เนื่องจากมีการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาทีทิก (Sympathetic autonomic nervous system) อย่างรุนแรง

การตอบสนองแบบสู้หรือหนีนี้มีในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดแต่จะเด่นชัดในสัตว์ชนิดอื่นมากกว่าในมนุษย์เนื่องจากเป็นสัญชาติญาณดิบอย่างหนึ่งในการเอาตัวรอดจากภัยคุกคามที่ร้ายแรง ในมนุษย์อาจมีการตอบสนองหลายรูปแบบซึ่งซับซ้อนกว่า เช่น การตอบสนองในการเอาตัวรอดด้วยการสู้นั้นนอกจากการใช้กำลังเข้าแก้ไขปัญหาแล้วยังอาจรวมไปถึงพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์โกรธที่รุนแรงต่างๆ เป็นต้น

สภาพจิตใจจะมีสามสิ่งที่เกิดขึ้นตามลำดับ คือ


ความกังวลต่อภัยคุกคาม (Threat Anxiety) จะเกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับภัยคุกคามร้ายแรง เป็นความกังวล ความกลัว (Fear) ที่จะถูกทำร้ายร่างกายให้ได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือ เสียชีวิต เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการตอบสนองแบบสู้หรือหนี ซึ่งจะนำไปสู่การเตรียมพร้อมของร่างกายต่อสถานการณ์นั้นๆ เรียกว่า Survival Stress ร่างกายจะเกิดการกระตุ้นอย่างรุนแรงทั้งจากระบบประสาทและฮอร์โมน ทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น กล้ามเนื้อตื่นตัว รูม่านตาขยาย การมองเห็นเป็นแบบ Tunnel Vision การได้ยินเสียงอาจลดลง การควบคุมการเคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อนทำได้ยากขึ้น เช่น การหยิบจับอาวุธ การเปลี่ยนซองกระสุน เป็นต้น ดังนั้นผู้คนที่เคยผ่านประสบการณ์เฉียดตายมาแล้วจึงมักจำรายละเอียดของเหตุการณ์ไม่ค่อยได้นอกจากภัยคุกคามเท่านั้น เนื่องจากประสาทรับรู้ต่างๆจะถูกจำกัดลงและมุ่งความสนใจไปที่ภัยคุกคามเป็นส่วนใหญ่

ระยะสุดท้ายคือ Combat Stress เมื่อภัยคุกคามได้ผ่านพ้นไปแล้ว ร่างกายก็ค่อยๆกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หากมีบาดแผลก็จะเริ่มรู้สึกเจ็บปวด มีเลือดออกมากขึ้น (จากระบบประสาทอัตโนมัติพาราซิมพาทีทิก (Parasympathetic autonomic nervous system) ทำงาน หลอดเลือดบริเวณผิวหนังจะขยายตัว เลือดจึงออกมากขึ้นได้)


พบว่าผู้ชายมักตอบสนองด้วยการสู้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนผู้หญิงมักตอบสนองด้วยการหนีหรือยอมจำนนเป็นส่วนใหญ่ อาจเนื่องมาจากความได้เปรียบหรือเสียเปรียบของร่างกาย นั้นจึงเป็นเหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้ผู้หญิงมักตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงหรืออาชญากรรมในสังคม


ผลลัพธ์ของการตอบสนองนั้นอาจมีได้ทั้งดีและร้าย แต่มนุษย์นั้นมีสิ่งซึ่งสัตว์อื่นมีอยู่อย่างจำกัดมากกว่า นั้นก็คือ สติปัญญา (สติ + ปัญญา) หากเราใช้สัญชาติญาณนี้ร่วมกับสติปัญญาจะทำให้เราสามารถเลือกการตอบสนองที่เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ดีขึ้น

การเอาตัวรอดนั้นบางสถานการณ์การตอบสนองแบบหนีอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด แต่ในหลายกรณีการตอบสนองแบบสู้นั้นอาจเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้มากกว่า ซึ่งการตอบสนองแบบสู้นี้ไม่ได้หมายความเพียงแค่การใช้กำลังเท่านั้น ยังหมายความรวมถึงการใช้พฤติกรรมที่ก้าวร้าวไม่ยอมจำนน การใช้น้ำเสียงที่หนักแน่นหรือการทำทุกอย่างเพื่อให้มีชีวิตรอดอีกด้วย

หากจะต้องมีเพียงคนเดียวที่จะได้กลับบ้าน คนๆนั้นจะต้องเป็น “ฉัน”


การฝึกฝนทักษะในการเอาตัวรอดและการป้องกันตัวจากสถานการณ์วิกฤติจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง เพื่อเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการเอาตัวรอดจากภัยคุกคามในสังคม

สุดท้ายนี้ขอให้ตั้ง “สติ” ทุกครั้งเมื่อเผชิญเหตุ และขอให้ “พลังจงอยู่กับท่าน”

เรียบเรียงโดย Batman

อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง Fight or Flight, The Three Stages ของ
Warren Breckenridge, Wikipedia
 

Samsung LCD televisions