Survival
Knives
มีดยังชีพ (Survival
Knife) มักเป็นมีดที่นักเดินป่า นายพราน หรือผู้รักการผจญภัยในพงไพรนิยมพกติดตัว
มักเป็นมีดขนาดใหญ่ เช่น พร้า (Machete) เพื่อใช้ฟันหรือตัดต้นหญ้งหรือกิ่งไม้เพื่อเปิดทางในการเดินทาง
หรือใช้ทำฟืนหรือที่พัก เป็นต้น
แต่ก็มีมีดขนาดปานกลางซึ่งนิยมพกติดตัวได้เช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นมีดขนาดใบ 5 ถึง 8 นิ้ว เป็นต้น
ส่วนใหญ่มักจะใช้มีดใบตายมากกว่ามีดพับเนื่องจากให้ความแข็งแรงมากกว่ามีดพับ อีกทั้งน้ำหนักเบากว่าพร้าซึ่งมักยาวมากกว่าสิบนิ้ว
และพกพาได้สะดวกมากกว่าสามารถใช้งานจิปาถะเล็กๆน้อยๆได้ดี
มีดถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือยังชีพที่สำคัญ
ดังนั้นหลายครั้งเรามักจะพกทั้งพร้าและมีดสำรองเหน็บเอวเอาไว้อีกเล่มหนึ่งเพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการเลือกมีดใช้งานหากจำเป็นต้องเข้าป่าเป็นเวลาหลายวัน
สำหรับประชาชนทั่วไปหากจำเป็นต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ซึ่งไม่คุ้นเคยและเป็นป่าเขา
การพกมีดใบตายขนาดพอเหมาะสักเล่มก็ถือว่าเป็นการไม่ประมาทจนเกินไป
มีดยังชีพมีหลายแบบหลายขนาด
ส่วนใหญ่ปลายมีดที่นิยมมักจะเป็น Drop หรือ Clip point
(อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง Knife Blade Shapes เมื่อ 21 April 2011)
เนื่องจากปลายมีดไม่หักหรือบิ่นง่าย นอกจากนั้นมีดแบบนี้ยังสามารถใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวได้ดีอีกด้วย
ส่วนใหญ่มักเป็นมีดคมเดียวและแบบใบเรียบ
(Plain Blade) แต่บางครั้งก็มีใบกึ่งหยักซึ่งใช้ตัดเอ็นตกปลาหรือเลื่อยกิ่งไม้เล็กพอได้
โดยทั่วไปนิยมมีดซึ่งเป็นใบเรียบตลอดความยาวและหากเป็นมีดซึ่งมีด้ามเหล็กยาวตลอดถึงปลายด้าม
(Full tang) ก็จะยิ่งให้ความแข็งแรงกับมีดได้ดียิ่งขึ้น
(มีดเพื่อการยังชีพต้องเน้นความสมบุกสมบัน ทนต่องานหนักได้ดี ไม่หักหรือบิ่นง่าย)
คุณภาพของเหล็กที่ทำใบมีดก็มีให้เลือกหลากหลายตั้งแต่เหล็กธรรมดาซึ่งเป็นมิตรกับสนิม
ไปจนถึง Stainless steel
(มีโอกาสขึ้นสนิมได้น้อย) หรือทำจากเหล็กซึ่งกันสนิมได้ 100 เปอร์เซ็นต์ก็มี ราคาของมีดก็ขึ้นกับเหล็กที่ใช้
ความยาวของใบมีด การออกแบบ และชื่อเสียงของยี่ห้อที่ผลิต
มีดแบบนี้นิยมในหมู่ทหารเวลาปฏิบัติภาระกิจเช่นกัน
เนื่องจากสามารถนำมาใช้ได้อย่างหลากหลายวัตถุประสงค์
ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ป้องกันตัวและการยังชีพ อีกทั้งขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปสามารถพกติดตัวเดินทางระยะไกลได้
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับมีดขอให้มี
“สติ”
เรียบเรียงโดย
Batman
No comments:
Post a Comment