Joint Lock for Self-defense
ในการแก้ไขเหตุการณ์ร้ายจากภัยคุกคามร้ายแรง หลายครั้งการใช้กำลังอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ มีหลายวิธีในการโต้ตอบหรือตอบสนองต่อภัยร้ายนั้น วิธีหนึ่งที่นิยมใช้ก็คือ Joint Lock
ในการป้องกันตัว (Self-defense) การทำ Joint Lock หรือ การหักข้อหรืองัดข้อของคนร้ายให้เกิดความเจ็บปวดหรือเพื่อควบคุม (Control) เป็นการประยุกต์มาจากศิลปะการต่อสู้ (Martial Arts) หลายแขนง โดยตัดท่าทางที่ซับซ้อนออกไป เหลือเพียงท่าที่เรียบง่าย มีประสิทธิภาพและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
ข้อต่อต่างๆในร่างกายมนุษย์ถูกออกแบบมาให้เคลื่อนไหวได้ในทิศทางใดทิศทางหนึ่งหรือบางทิศทางเท่านั้น เมื่อถูกบังคับให้ข้อเหล่านั้นพยายามเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ไม่ได้ถูกออกแบบเอาไว้ จะสามารถสร้างความเจ็บปวดรุนแรงให้กับคนๆนั้นได้ หรือการบังคับให้ข้อเหล่านั้นอยู่ในมุมที่กำหนดบางมุม จะทำให้คนร้ายไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อนั้นได้สะดวกจึงง่ายแก่การควบคุม
การทำ Joint Lock จึงเป็นการอาศัยข้อบกพร่องหรือข้อจำกัดตามธรรมชาติของมนุษย์เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันตัว
ข้อต่อต่างๆโดยเฉพาะที่แขนและขาไม่ว่าจะเป็นข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก หัวไหล่ ข้อเท้า ข้อเข่า สามารถทำ Joint Lock ได้และเป็นที่นิยมอย่างมาก มีหลายวิธีในการทำและบางท่ามีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดความพิการได้ ดังนั้นจึงควรใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นจริงๆ
ความแตกต่างที่สำคัญสำหรับในการฝึก Joint Lock ระหว่างการป้องกันตัว (Self-defense) และศิลปะการต่อสู้ (Martial Arts) ก็คือ ความเรียบง่าย (Simple)
การป้องกันตัวเป็นการนำความรู้มาจากหลายแหล่งเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยอาศัยท่าทางที่เรียบง่าย สามารถเรียนรู้ได้เร็ว ตามหลักการที่สำคัญข้อหนึ่ง คือ SIG principle (Simple is Good) เพราะในสถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือมีความกดดันสูง การเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนจะทำได้ยากหรือมีความผิดพลาดได้สูง ดังนั้นในการป้องกันตัวจึงเลือกท่าทางที่เรียบง่ายไว้ก่อน โดยคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ
ท่าทางที่ซับซ้อนของศิลปะการต่อสู้นั้น ถึงแม้จะดูสวยงาม มีประสิทธิภาพ แต่ยากที่จะทำตามหรือต้องเสียเวลาเรียนรู้หลายปีกว่าจะทำได้อย่างชำนาญ จึงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมสำหรับการป้องกันตัวในยุกต์สมัยใหม่
สุดท้ายนี้ขอให้ตั้ง “สติ” ทุกครั้งเมื่อเผชิญเหตุ และขอให้ “พลังจงอยู่กับท่าน”
เรียบเรียงโดย Batman
Thursday, October 27, 2011
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment