Thursday, October 27, 2011

Joint Lock for Self-defense

Joint Lock for Self-defense



ในการแก้ไขเหตุการณ์ร้ายจากภัยคุกคามร้ายแรง หลายครั้งการใช้กำลังอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ มีหลายวิธีในการโต้ตอบหรือตอบสนองต่อภัยร้ายนั้น วิธีหนึ่งที่นิยมใช้ก็คือ Joint Lock


ในการป้องกันตัว (Self-defense) การทำ Joint Lock หรือ การหักข้อหรืองัดข้อของคนร้ายให้เกิดความเจ็บปวดหรือเพื่อควบคุม (Control) เป็นการประยุกต์มาจากศิลปะการต่อสู้ (Martial Arts) หลายแขนง โดยตัดท่าทางที่ซับซ้อนออกไป เหลือเพียงท่าที่เรียบง่าย มีประสิทธิภาพและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว


ข้อต่อต่างๆในร่างกายมนุษย์ถูกออกแบบมาให้เคลื่อนไหวได้ในทิศทางใดทิศทางหนึ่งหรือบางทิศทางเท่านั้น เมื่อถูกบังคับให้ข้อเหล่านั้นพยายามเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ไม่ได้ถูกออกแบบเอาไว้ จะสามารถสร้างความเจ็บปวดรุนแรงให้กับคนๆนั้นได้ หรือการบังคับให้ข้อเหล่านั้นอยู่ในมุมที่กำหนดบางมุม จะทำให้คนร้ายไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อนั้นได้สะดวกจึงง่ายแก่การควบคุม


การทำ Joint Lock จึงเป็นการอาศัยข้อบกพร่องหรือข้อจำกัดตามธรรมชาติของมนุษย์เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันตัว


ข้อต่อต่างๆโดยเฉพาะที่แขนและขาไม่ว่าจะเป็นข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก หัวไหล่ ข้อเท้า ข้อเข่า สามารถทำ Joint Lock ได้และเป็นที่นิยมอย่างมาก มีหลายวิธีในการทำและบางท่ามีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดความพิการได้ ดังนั้นจึงควรใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นจริงๆ


ความแตกต่างที่สำคัญสำหรับในการฝึก Joint Lock ระหว่างการป้องกันตัว (Self-defense) และศิลปะการต่อสู้ (Martial Arts) ก็คือ ความเรียบง่าย (Simple)


การป้องกันตัวเป็นการนำความรู้มาจากหลายแหล่งเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยอาศัยท่าทางที่เรียบง่าย สามารถเรียนรู้ได้เร็ว ตามหลักการที่สำคัญข้อหนึ่ง คือ SIG principle (Simple is Good) เพราะในสถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือมีความกดดันสูง การเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนจะทำได้ยากหรือมีความผิดพลาดได้สูง ดังนั้นในการป้องกันตัวจึงเลือกท่าทางที่เรียบง่ายไว้ก่อน โดยคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ


ท่าทางที่ซับซ้อนของศิลปะการต่อสู้นั้น ถึงแม้จะดูสวยงาม มีประสิทธิภาพ แต่ยากที่จะทำตามหรือต้องเสียเวลาเรียนรู้หลายปีกว่าจะทำได้อย่างชำนาญ จึงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมสำหรับการป้องกันตัวในยุกต์สมัยใหม่


สุดท้ายนี้ขอให้ตั้ง “สติ” ทุกครั้งเมื่อเผชิญเหตุ และขอให้ “พลังจงอยู่กับท่าน”


เรียบเรียงโดย Batman

Friday, October 7, 2011

Forward Grip VS. Reverse Grip


Forward Grip VS. Reverse Grip

ในภาพยนตร์แนวบู๊ล้างพลานส่วนใหญ่นักแสดงมักถือมีดแบบ Reverse Grip เนื่องจากดูเท่และน่ากลัว แต่การถือมีดแบบนี้เหนือกว่าการถือมีดแบบอื่นๆจริงหรือ?

การถือมีดแบบปกติ (Normal Grip) หรือ Forward Grip เป็นการถือมีดที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นการถือสิ่งของอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด ส่วนใหญ่เป็นการถือเอาคมมีดออกด้านนอกตัว (Edged out) และถือเป็นพื้นฐานในการใช้มีดเพื่อป้องกันตัว

ส่วนการถือมีดแบบ Reverse Grip หรือ Icepick Grip นั้นนิยมน้อยกว่า มีสองรูปแบบใหญ่ๆ คือ คมมีดออกด้านนอกตัว (Edged out) กับ คมมีดเข้าด้านในตัว (Edged in) ส่วนนิ้วโป้งจะกำรอบด้ามหรือวางไว้ที่ท้ายด้าม (Butt) ก็ได้

การถือมีดทั้งแบบ Forward และ Reverse Grips ต่างก็มีข้อดี-ข้อเสีย การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับความรู้และทักษะในการใช้มีด การรู้ข้อดี ข้อเสียและข้อจำกัดของการถือมีดแต่ละแบบ จะทำให้เราสามารถใช้มีดในมือได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งหากคนร้ายถือมีดในแบบดังกล่าวจะทำให้เราสามารถเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมในการตอบสนองต่อสถานการณ์เบื้องหน้าได้

ข้อได้เปรียบของ Forward Grip ก็เรื่องของ ระยะในการโจมตี” ที่ไกลกว่า เมื่อยืดมีดฟันหรือแทงออกไปจนสุดมือจะได้ระยะที่ไกลกว่า Reverse Grip ในที่นี้ถึงแม้ Reverse Grip จะสามารถยืดแทงหรือฟันออกไปจนสุดมือก็อาจได้ระยะเท่ากับ Forward Grip แต่ขาดพลังเพราะต้องพลิกมือหรือกำด้ามอย่างหลวมๆ ทำให้ระยะเอื่อมสุดมือจะได้ระยะที่มีประสิทธิภาพสั้นกว่า Forward Grip แต่ระยะที่ต่างกันนี้ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

Forward Grip สามารถเคลื่อนไหวมีดทั้งฟันและแทงในทิศทางต่างๆได้อย่างราบรื่น ส่วน Reverse Grip ในบางทิศทางจะเคลื่อนไหวได้ยากกว่าปกติ

Reverse Grip จะให้การแทงที่มีพลังมากกว่า Forward Grip ในทิศทางจากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา

หลายคนคงคิดว่า Reverse Grip นั้นน่าจะดีกว่าหรือเหนือกว่าการถือมีดแบบอื่น การถือมีดไม่ว่าแบบใดเราต้องรู้ข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดของรูปแบบเหล่านั้น ในการใช้งานเราจะใช้ทักษะที่เราชำนาญที่สุดไม่ใช่ดูเท่ที่สุดแต่ใช้ไม่คล่อง เพราะเรากำลังฝากชีวิตไว้กับสิ่งต่างๆที่เรากำลังใช้ หากเราถือมีดแบบ Reverse Grip ได้ถนัดและใช้ได้ชำนาญกว่า Forward Grip ก็ไม่ถือว่าแปลกที่เราจะใช้ Reverse Grip แต่ถ้าเราใช้ Forward Grip ได้ดีกว่า ก็ควรเลี่ยงการใช้ Reverse Grip ยกเว้นในบางสถานการณ์เราอาจต้องใช้ Reverse Grip ไปก่อน เมื่อมีโอกาสก็ให้รีบเปลี่ยนกลับมาเป็น Forward Grip ที่เราถนัด

สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับมีดขอให้มี “สติ”
                                                                                                เรียบเรียงโดย Batman

Saturday, October 1, 2011

Distances in Knife Fighting


Distances in Knife Fighting


ในการป้องกันตัวจากการใช้ความรุนแรง หากเราเข้าใจเรื่องของ "ระยะห่าง (Distance)" จะทำให้เรารู้ว่าเราควรทำหรือไม่ควรทำอะไรเพื่อให้รอดพ้นออกมาได้อย่างปลอดภัย


อาวุธต่างๆนั้นมีระยะในการใช้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจนไปถึงน้อยที่สุด แม้แต่ในกรณีของการต่อสู้มือเปล่า (Empty-handed Combat) ไม่ว่าจะเป็น หมัด เท้า เข่า ศอก ต่างก็มีระยะในการใช้งานที่มีความเฉพาะของมันเอง ดังนั้นเราต้องเลือกออกอาวุธในระยะที่เหมาะสมจึงจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ


ไม่ว่าจะเป็น มีด ไม้ ดาบ ต่างก็มีระยะของมันที่จะทรงประสิทธิภาพสูงสุด ในกรณีของการต่อสู้ด้วยมีด (Knife Fighting) นั้น มี 3 ระยะ


-          ระยะไกล เป็นระยะที่อาวุธมีดของทั้งเราและคนร้ายอยู่ห่างกันมากจนเอื่อมไม่ถึงกัน ยกเว้นมีดขว้างสามารถทำร้ายเราได้ คนร้ายต้องเคลื่อนที่เข้าหาเราหลายก้าวกว่าจะเอื่อมมีดถึงตัวเราได้ เราอาจถอยห่างและหนีไปได้ง่าย เป็นระยะที่มีอันตรายน้อยที่สุด


-          ระยะปานกลาง เป็นระยะที่มีดของคนร้ายสามารถเอื่อมถึงอวัยวะของเราที่ยื่นออกมาได้ เราสามารถใช้มีดของเราในการทำ Defanging the Snake (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง Defanging the Snake วันศุกร์ที่ 4 June 10) เป็นการใช้มือข้างที่ถือมีดตอบโต้หรือตั้งรับเพียงข้างเดียว (One-handed technique) ไม่จำเป็นต้องใช้มืออีกข้างเข้าช่วย เป็นระยะที่อันตรายปานกลาง หากเราไม่ยื่นอวัยวะอะไรออกห่างตัวมากๆก็จะปลอดภัย


-          ระยะใกล้ เป็นระยะที่มีดของคนร้ายสามารถเอื่อมถึงตัวเรา เป็นระยะที่อันตรายที่สุดเพราะหากถูกแทงหรือฟันในตำแหน่งที่สำคัญจะเกิดอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นต้องใช้สองมือในการเข้าแก้ไขหรือช่วยในการตอบโต้เสมอ (Two-handed technique) เพื่อเพิ่มโอกาสรอดหรือลดความเสียหายลงให้มากที่สุด


หากคนร้ายก้าวเท้าเข้ามาหนึ่งก้าวจากระยะไกลเข้าสู่ระยะปานกลาง แล้วเราถอยห่างออกไปหนึ่งก้าวเพื่อคงระยะไกลเอาไว้ มีดของคนร้ายก็จะไม่สามารถฟันหรือแทงเราได้ ถ้าคนร้ายก้าวเข้ามาสองก้าวจากระยะไกลแต่เราถอยห่างออกไปเพียงหนึ่งก้าว ทำให้คนร้ายเข้าสู่ระยะปานกลางของเรา ซึ่งเราสามารถใช้มีดในมือฟันไปที่มือหรือข้อมือของคนร้ายได้ (Defanging the Snake)


ถ้าคนร้ายก้าวเข้ามาสองก้าวจากระยะไกล แต่เราไม่ถอยเลยทำให้คนร้ายเข้ามาอยู่ในระยะใกล้ เราต้องป้องกันตัวและตอบโต้โดยใช้สองมือเข้าช่วยทันที


ดังนั้นผู้ที่ฝึกมีดมาอย่างดีจะรู้ถึงการใช้ประโยชน์ของ “ระยะห่าง” และรู้ “วิธีที่เหมาะสมในการตอบสนองต่อระยะนั้นๆ” โดยอาศัยการก้าวเท้า (Footwork) และการใช้มือทั้งสองข้างอย่างถูกต้อง


นอกจากนั้นหากเราเข้าใจระยะห่างของอาวุธแต่ละอย่าง เราก็จะรู้ว่าจะใช้ประโยชน์จากระยะห่างเหล่านั้นได้อย่างไร และควรตอบสนองเช่นไรในระยะต่างๆเหล่านั้น ความรู้นี้สามารถปรับใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันตัวด้วยมือเปล่าหรือด้วยอาวุธอะไรก็ตาม


สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับมีดขอให้มี สติ
                                                                                                เรียบเรียงโดย Batman
 

Samsung LCD televisions